ยินดีต้อนรับ

ยินดีต้อนรับเข้าสู่บล็อกของ nanny ZaZa

วันเสาร์ที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2555

คำถามท้ายบทที่ 2

  อุปกรณ์นำเข้าข้อมูล (Input Device)
Input  หมายถึง  การป้อนข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อทำการประมวลผล  โดย  User  จะเป็นผู้ป้อนข้อมูลเข้าสู่เครื่อง (input) และเครื่องจะนำไปประมวลผลเป็นข่าวสาร   ซึ่งอุปกรณ์ในการนำเข้าข้อมูลมาตรฐาน ได้แก่   Mouse,  Keyboard   และ  Scanner

Keyboard 
จะสร้างสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์และแปลงเป็นตัวอักษรคล้ายกับเครื่องพิมพ์ดีด  ซึ่ง Keyboard  จัดเป็นส่วนหนึ่งของเครื่อง   ในแต่ละอุตสาหกรรมอาจมี  Keboard   ที่มีลักษณะเฉพาะเพื่อเอื้อประโยชน์ต่อการใช้งาน

ลักษณะการทำงานของ Keyboard
ใช้  Keyboard controller   เป็นตัวรับข้อมูลว่าปุ่มใด (Key)  ถูกกด  และจะทำการแปลงค่าสัญญาณเพื่อส่งต่อไปยังส่วนหนึ่งใน Keyboard  buffer  เพื่อบันทึกว่า Key ใดถูกกด  และ Keyboard controller  จะส่ง Interrupt  Request ไปยัง  System  Software ให้ทราบว่าเกิดอะไรขึ้นที่ Keyboard  ซึ่ง Keyboard ที่เราใช้งานกันอยู่ในปัจจุบัน มีทั้ง Keyboard  แบบปกติที่พบเห็นกันอยู่ทั่วไป  และ Keyboard  แบบพิเศษ ที่มีรูปทรงที่แปลกตา

Ergonomic keyboards
ถูกออกแบบให้ลดการตึง   เกร็ง  การเคล็ดของข้อมือซึ่งอาจทำให้เกิด
อันตรายได้หากคุณต้องพิมพ์งานเป็นเวลานาน ๆ  โดย Ergonomic keyboards   
ถูกออกแบบให้มีตำแหน่งการวางข้อมือและแขนเป็นพิเศษ

Mouse  
ใช้ในการเลื่อนตำแหน่งของตัวชี้ (Pointer) บนหน้าจอ โดยการขยับ Mouse เลื่อนไปมาบนโต๊ะที่มีพื้นเรียบ    ซึ่งการขยับ Mouse แต่ละครั้งจะสัมพันธ์กับตำแหน่งของ Pointer บนหน้าจอ และรับคำสั่งเมื่อมีการกดปุ่มของ Mouse (click)  ซึ่งคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับการใช้ Mouse มี 4 คำด้วยกันคือ
-          Click
-          Double Click
-          Right Click
-          Drag and  Drop
การทำงานของ Mouse
          มี 2 แกน วางอยู่เป็นมุมฉากข้างลูกบอล  ซึ่งแกนดังกล่าวจะเป็นแกนหมุนสัมผัสกับลูกบอล
และจะหมุนเมื่อลูกบอลเคลื่อนที่   ตัวดักสัญญาณจะส่งข้อมูลให้คอมพิวเตอร์ทราบว่าแกนหมุน  หมุนไปมากน้อย
แค่ไหนเพื่อให้คอมพิวเตอร์แปลงสัญญาณและเลื่อนตำแหน่งให้สอดคล้องกับ Mous
          Mouse จัดเป็นอุปกรณ์ประเภทตัวชี้  ซึ่งอุปกรณ์ประเภทตัวชี้นี้ ไม่ได้มีเฉพาะ Mouse เพียงอย่างเดียว แต่ยังมีอุปกรณ์ ตัวชี้ชนิดอื่นด้วย  ที่มีหน้าที่การทำงานเช่นเดียวกับ Mouse แต่รูปทรงและลักษณะนั้นแตกต่างออกไป  เช่น  อุปกรณ์ที่ใช้เล่นเกม  อุปกรณ์ที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ Laptop หรือ Notebook

Trackball
มีลักษณะคล้ายกับ mouse แต่ไม่มีแกนบังคับ   ใช้การหมุนลูกบอลในการทำงาน  ส่วนมากใช้ในเครื่องคอมพิวเตอร์  Laptop   ทำงานโดยการหมุนลูกบอลโดยตรง เพื่อให้ Cursor เลื่อนไปยังตำแหน่งที่ ต้องการ

Joystick
           มีด้ามสั้น ๆ ให้จับ   ควบคุมการเคลื่อนที่ของ pointer  โดยใช้การกดไกปืนเพื่อทำงาน


Touchpad
          มีรูปทรง 4  เหลี่ยม ใช้การกดและรับความไวของการเคาะ    มีเสียงในการกดเคาะ ดังแปะ ๆ (เหมือนการ Click)  สามารถเลื่อน  pointer ได้โดยการลูบในพื้นที่ 4 เหลี่ยม    การเลื่อน Cursor จะอาศัยนิ้วมือกดและเลื่อน  เป็นอุปกรณ์ที่ติดอยู่กับ Noteboo

Pointing stick
เป็นลูกทรงกลมเล็ก ๆ ไวต่อการกด  วางอยู่กึ่งกลาง keyboard  ใช้การ
หมุนเพื่อควบคุมทิศทางการเคลื่อนที่ของ pointer

Graphics tablet
ใช้ปากกาควบคุมการย้ายตำแหน่ง  วางอยู่บนกระดาน (Board)  ส่วนมากใช้สร้างแผนงานหรือวาดบทย่อ  หรือบทสรุปต่าง ๆ

Digitizer
เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในงานเขียนแบบ ที่เราเรียกว่า “Digitizing tablet” ขนาดของตารางจะแตกต่างกัน   ตารางจะมีการเชื่อมต่อสายเคเบิลเข้ากับคอมพิวเตอร์ เพื่อให้มีการวาดภาพบนตาราง ตัวชี้บนตารางเราเรียกว่า Grid เพื่อกําหนดตําแหน่งในการป้อนข้อมูลให้กับคอมพิวเตอร์

Touch  screen
จอสัมผัส  เป็นได้ทั้งอุปกรณ์ Input และ Output  ใช้นิ้วมือ
สัมผัสบนหน้าจอ จากนั้นจอภาพจะพิจารณากลุ่มข้อมูลที่ Input  เข้าสู่ระบบส่วนมากใช้ในสถานที่ใหญ่ ๆ ที่มีคนจำนวนมาก    เช่น  นำตู้ ATM แบบ  Touch  screen  ไปวางในห้างสรรพสินค้า
การทำงานของ   Touch  screen  จะใช้  Membrane layer ทำหน้าที่ตรวจสอบการถูกกดบนตำแหน่งหน้าจอ  โดยแต่ละแผ่นจะแยกการตรวจสอบตามแกน x,y  โดยมีการใช้สายไฟ 4 เส้น  layer ละ 2  เส้น เมื่อมีการกดหน้าจอทั้ง  2  layer จะทำการส่งสัญญาณไฟฟ้าไปให้ Controller   

Pen-based computing
ใช้ปากกาแสง (Light Pen) ในการนำเข้าข้อมูล   พบในเครื่อง PDA  และ Pocket  PC  การทำงาน  สามารถรับข้อมูลโดยการใช้ปากกาอิเล็กทรอนิกส์เขียนลงบนหน้าจอของ  PDA หรือ Pocket  PC  ซึ่ง หน้าจอถูกออกแบบมาให้ใช้ร่วมกับอุปกรณ์นี้โดยเฉพาะ พร้อมทั้งรับรู้ทิศทางการเคลื่อนไหวโดยใช้ความไวแสงเพื่อกําหนดตําแหน่งที่ชี้บนจอภาพ    บอกได้ว่ากำลังเขียนตัวอักษรหรือสัญลักษณ์ใด สามารถอ่านลายเซ็นได้

Scanner 
          ใช้ในการอ่านอักขณะพิเศษ   ตัวเลข   และสัญลัษณ์ต่าง ๆ
          Flatbed  scanner :  จะ scan  ครั้งละ 1 หน้า  สามารถ scan เอกสารขนาดใหญ่ได้
Sheetfed  scanner : จะดึงกระดาษเขาไป scan   ต้องกลับด้านของกระดาษ 

Laser scaner : ปัจจุบันมีหลากหลายชนิดให้เลือก รวมทั้งเครื่อง Scan  แบบสั่น  โดยส่วนมากแล้วหากใช้งาน ณ.จุดขายหน้าร้าน (POS: Point of Sale)  ก็จะต้องมีอุปกรณ์อื่นที่ต้องใช้ร่วมกัน  เช่น เครื่องออกใบเสร็จ (Receipt printer)  เครื่อง print bar code  (Bar code printer)     จอคอมพิวเตอร์ที่ใช้ร่วมด้วยจะมีขนาดเล็ก       (9” VGA MONO  หรือ 10” COLOR MONITOR)   keyboad  ที่ใช้ก็จะมีเฉพาะตัวเลข (Numeric keyboard)  รวมทั้งต้องใช้เครื่องช่างน้ำหนัก   ป้ายแสดงจำนวนเงิน  เครื่องลงเวลา (Access Control and Time)  ลิ้นชักควบคุม (Cash Drawer)  เครื่องรูดบัตรชนิดต่าง ๆ  เป็นต้น

Bar Codes   Readers
เครื่องอ่านรหัสบาร์โค๊ด (Bar Code Readers)  เป็นอุปกรณ์ที่นํามาใช้เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ในการประยุกต์ใช้งานทางด้านธุรกิจ  เช่น  อ่านป้ายบอกราคาสินค้า เพื่อสะดวกในการคำนวณจำนวนเงิน และสามารถป้องกันความผิดพลาดที่เกิดจากการบันทึกข้อมูลของผู้ใช้  รหัส Bar code ที่ใช้ในทางธุรกิจ เราเรียกว่า Universal Product Code (UPC)  โดยจะมีขีดสัญลักษณ์ในแนวตั้งขีดเรียงกัน (Bar code)   สัญลักษณ์นั้นแทนด้วยแถบสีขาวและดำที่มีความกว้างแทนค่าเป็น 1  และแคบแทนค่าเป็น   0  การอ่านข้อมูลนั้นพื้นที่ภายในแถบและช่องว่างจะทำให้เกิดความแตกต่างของการสะท้อนกลับ    

ประเภทของเครื่องอ่าน Bar Code
Hand  held  scaner  :  การใช้งานนั้นจะลากอุปกรณ์ผ่านรหัส Bar code  เครื่องจะทํา
การวิเคราะห์แสงที่ผ่านแท่งดําๆ ของรหัส  ว่าข้อมูลที่อ่านไว้เป็นรหัสอะไรและนําไปเปรียบเทียบกับข้อมูลเดิมที่คอมพิวเตอร์บันทึกเอาไว้ มีขนาดเครื่องเล็กและความแม่นยำต่ำ
Cash Register  scaner :  มักพบเห็นในห้างสรรพสินค้า หรืองานที่ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ทั่วไป  เช่น ใช้อ่าน Bar Code ของสินค้าหรือใช้อ่านรหัสบัตร

Optical Mark Readers (OMR) 
เครื่องอ่านข้อมูลด้วยแสง (Optical Mark Readers)     เช่น  การอ่านข้อมูลบัตร Credit  หรือตรวจกระดาษคำตอบปรนัย   โดยจะบันทึกสัญลักษณ์หรือคำตอบเอาไว้ในคอมพิวเตอร์  และอาศัยการอ่านข้อมูลจากเครื่อง OMR เข้าไปเปรียบเทียบกับสัญลักษณ์ที่บันทึกเอาไว้

Optical Character Recognition (OCR) 
เป็นซอฟต์แวร์ของ Scanner แบบตัวอักขระ (text)   ซึ่งเป็น  software  ที่ต้องจัดหาหรือซื้อเพิ่มเพื่อการใช้งาน

Magnetic  Ink  Character Recognition (MICR)
เครื่องอ่านหมึกแม่เหล็ก  (Magnetic  Ink  Character Recognition  : MICR) ใช้ในการประมวลผลหมายเลขรหัสเช็คของธนาคาร  โดยเครื่องจะอ่านหมึกแม่เหล็กที่เป็นตัวเลข และสัญลักษณ์ ที่พิมพ์ลงบนเช็ค    ใช้ตรวจสอบการลายเซ็น   หรือการมอบอำนาจในการสั่งจ่ายเช็ค

Smart Cards Reader
เครื่องอ่าานบัตร Smart Cards  ถูกออกแบบมาให้ใช้งานร่วมกับคอมพิวเตอร์  ในบัตร Smart card ประกอบด้วยไมโครชิพ   ที่สามารถประมวลผลได้ด้วยคอมพิวเตอร์   มีหน่วยความ
จําเก็บข้อมูลได้โดยไม่สูญหายไม้ไฟฟ้าดับ   การใช้บัตรจะต้องสอดบัตรเข้าไปให้เครื่องอ่านบัตร และป้อนรหัสผ่านจากคีย์บอร์ด บัตรจะมีหน่วยความจําและไมโครชิพจะเก็บเรคคอร์ดไว้อย่างถาวร ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะมีการเปลี่ยนแปลงเมื่อถูกใช้งาน   การใช้บัตรจะเกี่ยวข้องกับการประมวลผลทรานเซคชั่น ไม่ว่าจะเป็นบัตรเครดิต บัตรATM เพื่อให้มีการเปลี่ยนแปลงเรคเคอร์ดของลูกค้าธนาคาร

Terminal
ประกอบด้วยจอภาพ  คีย์บอร์ด และอุปกรณ์ในการเชื่อมโยงการสื่อสารข้อมูล  เป็นอุปกรณ์ปลายทางที่เชื่อมต่อเข้าคอมพิวเตอร์หลัก ใช้สําหรับบันทึกข้อมูลและการสืบคืนข้อมูลจากคอมพิวเตอร์หลัก   จำแนก Termianl  ได้ 3 ประเภทดังนี้
1. Dumb terminal  ทําหน้าที่ในการรับส่งข้อมูลและเชื่อมต่อกับระบบคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ เพียงอย่างเดียว
2. Smart terminal มีขีดความสามารถสูงกว่าชนิดแรก ทําหน้าที่รับส่งข้อมูลและสามารถแก้ไขข้อมูลที่ผิดพลาดได้
3. Intelligent terminal เป็นการนําไมโครคอมพิวเตอร์  มาเป็นเครื่องเทอร์มินอล   มีการรับส่ง  แก้ไขข้อมูลได้  และยังสามารถประมวลผลด้วยตัวเองได้   มีขีดความสามารถสูงสุด

Voice Input  Devices
รับเสียงพูดของ  User ส่งเข้าไปใน computer    อุปกรณ์จะจดจำเสียง และแปลงเสียงพูดนั้นเป็นข้อมูล  binary   โดยอาศัยระบบรู้จำเสียง (Voice Recognition System)   ซึ่งจะเปลี่ยนเสียงพูดให้คอมพิวเตอร์เข้าใจ โดยการเปรียบเทียบรูปคลื่นสัญญาณไฟฟ้าที่เปลี่ยนมาจากเสียงพูด กับรูปแบบของสัญญาณเสียงที่กําหนดไว้ ถ้าเหมือนกัน (Matching) คอมพิวเตอร์ก็จะยอมรับสัญญาณเสียงนั้น   ส่วนใหญ่แล้วเสียงที่ส่งเข้าไปนั้นจะขึ้นอยู่กับ User ว่าจะพูดอะไร  ระบบจะ เรียนรู้เสียงของ User   เอง  ประเภทของระบบเสียงมี 2 แบบ คือ ระบบคำไม่ต่อเนื่อง   จะมีการแบ่งคำของ user  และระบบคำแบบต่อเนื่อง  โดย  User สามารถพูดได้เป็นปกติ
Digital Camera
ใช้ถ่ายภาพและจัดเก็บข้อมูลบน  Chip    ภาพเก็บภาพลงในคอมพิวเตอร์   และแก้ไขภาพด้วยsoftware   รวมถึงเก็บภาพไว้ในสื่อ CDs  หรือ  DVDs    ภาพจะมีความละเอียดหลายล้าน pixels   จัดเก็บและลบทิ้งจาก memory card ได้
การทำงานของ Digital Camera   จะมีรูรับแสงเปิดออก ภาพจะถูก Focus  ผ่านเลนส์  และกระทบลงบนส่วนรับภาพที่เรียกว่า  CCD  CCD จะแปลงภาพที่ได้เป็นสัญญาณอนาล๊อก (Sign Analog)  เพื่อนำไป  ผ่าน ADC  ซึ่งจะแปลงสัญญาณกลับเป็น Digital สามารถนำเข้าคอมพิวเตอร์  เพื่อใช้งานในประโยชน์อื่น ๆ  

Video Input Device
จะประกอบด้วย ลำดับของเฟรม (Frames) ภาพนิ่งหลายเฟรม  มีการสลับเฟรมเพื่อแสดงผลได้อย่างรวดเร็วพอที่จะหลอกตาคนดูได้ว่าภาพที่เห็นนั้นเป็นภาพเคลื่อนไหว   ในการเปลี่ยนเฟรมหรือเคลื่อนที่ของภาพจะเร็วจนเห็นเป็นภาพต่อเนื่อง

คำถามท้ายบทที่ 1

          เทคโนโลยี..........มีความหมายค่อนข้างกว้าง โดยทั่วไปหมายถึง การนำความรู้ทางธรรมชาติวิทยาและต่อเนื่องมาถึงวิทยาศาสตร์ มาเป็นวิธีการปฏิบัติและประยุกต์ใช้เพื่อช่วยในการทำงานหรือแก้ปัญหาต่าง ๆ อันก่อให้เกิดวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักร แม้กระทั่งองค์ความรู้นามธรรมเช่น ระบบหรือกระบวนการต่าง ๆ เพื่อให้การดำรงชีวิตของมนุษย์ง่ายและสะดวกยิ่งขึ้น

          สารสนเทศ (information).......... เป็นผลลัพธ์ของการประมวลผล การจัดดำเนินการ และการเข้าประเภทข้อมูลโดยการรวมความรู้เข้าไปต่อผู้รับสารสนเทศนั้น สารสนเทศมีความหมายหรือแนวคิดที่กว้าง และหลากหลาย ตั้งแต่การใช้คำว่าสารสนเทศในชีวิตประจำวัน จนถึงความหมายเชิงเทคนิค ตามปกติในภาษาพูด แนวคิดของสารสนเทศใกล้เคียงกับความหมายของการสื่อสาร เงื่อนไข การควบคุม ข้อมูล รูปแบบ คำสั่งปฏิบัติการ ความรู้ ความหมาย สื่อความคิด การรับรู้ และการแทนความหมาย
         
          เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ ไอที (อังกฤษ: Information technology หรือ IT) หมายถึงเทคโนโลยีสำหรับการประมวลผลสารสนเทศ ซึ่งครอบคลุมถึงการรับ-ส่ง การแปลง การจัดเก็บ การประมวลผล และการค้นคืนสารสนเทศ ในการประยุกต์ การบริการ และพื้นฐานทางเทคโนโลยี สามารถแบ่งกลุ่มย่อยเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ คอมพิวเตอร์, การสื่อสาร และข้อมูลแบบมัลติมีเดีย ซึ่งในแต่ละกลุ่มนี้ยังแบ่งเป็นกลุ่มย่อยๆ ได้อีกมากมาย องค์ประกอบทั้ง 3 ส่วนนี้ ยังต้องอาศัยการทำงานร่วมกัน ยกตัวอย่างเช่น เซิร์ฟเวอร์ (คอมพิวเตอร์) เป็นองค์ประกอบสำคัญของระบบเครือข่าย (การสื่อสาร) โดยมีการส่งข้อมูลต่างๆ ไปยังเครื่องลูก (ข้อมูลแบบมัลติมีเดีย)
         
          ข้อมูล.......... คือ ข้อเท็จจริงของสิ่งที่เราสนใจ ข้อเท็จจริงที่เป็นตัวเลข ข้อความ หรือรายละเอียดซึ่งอาจอยู่ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ภาพ เสียง วีดิโอไม่ว่าจะเป็นคน สัตว์ สิ่งของ หรือเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งต่าง ๆ  ข้อมูลเป็นเรื่องเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง  และต้องถูกต้องแม่นยำ ครบถ้วน ขึ้นอยู่กับผู้ดำเนินการที่ให้ความสำคัญของความรวดเร็วของการเก็บข้อมูล ดังนั้นการเก็บข้อมูลจึงเป็นการเก็บรวบรวมเกี่ยวกับข้อเท็จจริงของสิ่งที่เราสนใจนั่นเอง ข้อมูลจึงหมายถึงตัวแทนของข้อเท็จจริง หรือความเป็นไปของสิ่งของที่เราสนใจ จำแนกได้ดังนี้
     1. ข้อมูลเชิงปริมาณ คือ ข้อมูลที่เป็นตัวเลขที่ใช้แสดงปริมาณของสิ่งต่างๆ
     2. ข้อมูลเชิงคุณภาพ คือ ข้อมูลที่ใช้อธิบายลักษณะ สมบัติหรือสถานการณ์ของสิ่งต่างๆ
  
          ฐานความรู้.......... โดยทั่วไป knowledge base หรือ ฐานความรู้ คือการรวบศูนย์การจัดเก็บสารสนเทศ เช่น ห้องสมุดสาธารณะ ฐานข้อมูลของสารสนเทศที่สัมพันธ์กับหัวข้อเฉพาะ ในความสัมพันธ์กับเทคโนโลยีสารสนเทศ ฐานความรู้เป็นแหล่งที่เครื่องสามารถอ่านได้สำหรับการกระจายสารสนเทศ โดยทั่วไปการออนไลน์หรือความสามารถทำให้ออนไลน์ ส่วนประกอบบูรณาการของระบบการจัดการความรู้ (knowledge management) ฐานความรู้ได้รับการใช้รวมสารสนเทศ จัดโครงสร้าง และดึงสำหรับองค์กร หรือสาธารณะทั่วไป          ฐานความรู้ที่ได้รับการได้ดีสามารถประหยัดเงินของวิสาหกิจโดยการลดเวลาของลูกจ้างในการค้นหาสารสนเทศ เช่น กฎหมายภาษี นโยบายบริษัท และขั้นตอนทำงาน เครื่องมือจัดการความสัมพันธ์กับลูกค้า (customer relationship management หรือ CRM) ฐานความรู้สามารถให้ลูกค้าเข้าถึงสารสนเทศได้ง่าย ในกรณีอื่นต้องติดต่อกับเจ้าหน้าที่ขององค์กร ตามกฎ ความสามารถนี้ทำให้เกิดปฏิสัมพันธ์ง่ายขึ้นสำหรับทั้งลูกค้าและองค์กร โปรแกรมประยุกต์จำนวนหนึ่งให้ผู้ใช้สร้างบานข้อความรู้ของตัวเอง ทั้งการแยกต่างหาก (เรียกว่า knowledge management software) หรือเป็นส่วนหนึ่งของโปรแกมประยุกต์อื่น เช่น แพ็คเกจ CRM
          โครงสร้างสารสนเทศ
          1. ระดับล่างสุด เป็นการใช้คอมพิวเตอร์ทำงานประมวลผลข้อมูล ซึ่งเรียกว่าการประมวลผลรายการ เช่น การบันทึกยอดขายประจำวัน

          2. ระดับที่สอง เป็นการใช้คอมพิวเตอร์จัดทำสารสนเทศ เพื่อใช้ในการวางแผนการตัดสินใจและการควบคุมที่เกี่ยวเนื่องกับงานประจำ ซึ่งเรียกว่างานควบคุมการดำเนินงาน เช่น การใช้คอมพิวเตอร์ในการรวบรวมข้อมูลประมวลผลว่าในแต่ละเดือนต้องวางแผนในการสั่งผลิตสินค้าเท่าไหร่ถึงจะพอกับความต้องการของลูกค้าหรือจะผลิตสต๊อกไว้เท่าไหร่ถึงจะเหมาะสม

          3. ระดับที่สาม เป็นการใช้คอมพิวเตอร์จัดทำสารสนเทศสำหรับผู้บริหารจัดการระดับกลางใช้ในการจัดการและวางแผนระยะสั้นตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 1 ปี ซึ่งเรียกว่างานจัดการ เช่น การประเมินผลการทำงานประจำปีของพนักงาน

          4. ระดับที่สี่ เป็นการใช้คอมพิวเตอร์จัดทำสารสนเทศสำหรับผู้บริหารจัดการระดับสูง สำหรับใช้ในงานวางแผนระยะยาว ซึ่งเรียกว่าการวางแผนกลยุทธ์ เช่น การประเมินสรุปผลยอดขายในแต่ละปี
          วิวัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศ
          เทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้ในการจัดการมากที่สุด คือ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ การใช้ระบบคอมพิวเตอร์พอจะเรียงลำดับได้ดังนี้
           ยุคแรก เรียกว่า ยุคการประมวลผลข้อมูล(Data Processing Era) เพื่อใช้ในการคำนวณและการประมวลผลข้อมูล
           ยุคที่ 2 มีการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการตัดสินใจดำเนินการควบคุม ติดตามผล และวิเคราะห์ผลงานของผู้บริหารระดับต่างๆ เรียกว่า ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information System :MIS)
           ยุคที่ 3 การใช้คอมพิวเตอร์ในการจัดการทรัพยากรสารสนเทศ (Information Resource Management) เพื่อเรียกใช้สารสนเทศที่ช่วยในการตัดสินใจนำหน่วยงานไปสู่ความสำเร็จ
           ยุคปัจจุบัน ความเจริญของเทคโนโลยีสูงมาก มีการขยายขอบเขตของการประมวลผลข้อมูลไปสู่การสร้างและการผลิตสารสนเทศทำให้สามารถสร้างทางเลือกและรูปแบบใหม่ของสินค้าและบริการ ซึ่งเรียกว่า ยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ(Information Technology :IT) หรือยุคไอที โดยการใช้ระบบคอมพิวเตอร์และระบบการสื่อสารโทรคมนาคมเป็นเครื่องมือช่วยในการจัดทำระบบสารสนเทศ และเน้นความคิดเรื่องการให้บริการสารสนเทศแก่ผู้ใช้อย่างมีประสิทธิภาพเป็นวัตถุประสงค์สำคัญ
          ตัวอย่างการพัฒนาของเทคโนโลยีสารสนเทศ
-          การใช้อีเมล์ (Email) การสร้างเว็บสื่อสารสำหรับพนักงาน (Employees’ Portals)
-          การสร้างเว็บเพื่อให้พนักงานสามารถเข้าถึงและดูแลรักษาข้อมูลส่วนตัว (Employee Self Service)
-          การสร้างเว็บเพื่อให้ผู้บริหารสามารถจัดการและบริหารทรัพยากรบุคคลในหน่วยงานได้ (Manager Self Service)
-          การจัดตั้งศูนย์บริการข้อมูลทางโทรศัพท์สำหรับพนักงาน ( Employee Call Center )
-          การใช้การประชุมทางไกลด้วยวิดีโอ (VDO Conference)
-          การปรับปรุงกระบวนการทำงาน (Business Process Improvement)
หลายองค์กรในประเทศที่พัฒนาแล้วได้นำเอาเทคโนโลยีไปช่วยในการพัฒนาและปรับปรุงกระบวนการทำงานในหลายๆ ด้านคือ
          ระบบการบันทึกประวัติการติดต่อและให้บริการ (Case Management System) โดยจะจัดเก็บข้อมูลของผู้รับบริการที่มาติดต่อใช้บริการแต่ละครั้ง เพื่อนำไปวิเคราะห์และปรับปรุงกระบวนการทำงานที่เกิดปัญหาต่อไป การขจัดงานที่ไม่จำเป็นออกไปจากกระบวนการทำงาน (Non-Value Added) เพราะถือว่างานที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ย่อมทำให้เกิดการสูญเสียทั้งเวลา กำลังคน และค่าใช้จ่ายโดยเปล่าประโยชน์ การพัฒนาความสามารถในการทำงาน (Competency Development)